ยินดีต้อนรับ

ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงร่วมสภาสูง โนเบล ตรัสพัฒนาวิทย์ช่วยผู้ด้อยโอกาส

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงร่วมสภาสูง โนเบล ตรัสพัฒนาวิทย์ช่วยผู้ด้อยโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ผู้สื่อข่าว "มติชน" รายงานจากหอประชุมอิลเชลฮันเล่ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับการทูลเกล้าถวายพระเกียรติให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสภากิตติมศักดิ์ (สภาสูง) ของมูลนิธิการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ในพิธีเปิดงานการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม ยังความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรชาวไืทยเป็นล้นพ้น

นายวูล์ฟกัง เชอร์เลอร์ ประธานมูลนิธิการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล กล่าวว่า การที่มูลนิธิถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพฯ ให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสภากิตติมศักดิ์ของมูลนิธิการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล เนื่องจากพระองค์ทรงทำคุณประโยชน์อย่างเด่นชัดในการประชุมที่ลินเดา และแก่มูลนิธิ ทรงเสียสละและทุ่มเทให้กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ สนับสนุนการศึกษาวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และทำให้เกิดการบูรณาการ

จากนั้น สมเด็จพระเทพฯ มีพระราชดำรัสขอบคุณแก่มูลนิธิว่า "พวก เรายังมีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ในการนำความรู้และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ต่อทุกคนอย่างกว้างขวาง ต้องร่วมมือกันหาวิธีการที่เหมาะสมในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ในสังคม เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ สังคม เชื้อชาติ หรือศาสนา ต้องร่วมมือกันหาวิธีในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อทั้วโลกในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นเร็วมาก ทำให้เิกิดปัญหา และความท้าทายในประเด็นสำคัญของโลกหลายประการ เช่น ภาวะโลกร้อน โรคติดเชื้อที่อุบัติขึ้นใหม่ และประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงของสังคมและมนุษยชาติ

เป้าหมายที่สำคัญ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้และทักษะในหลายเรื่องประกอบกัน งานของเราจึงถูกกล่าวถึงว่าเป็นบูรณาการแบบองค์รวมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการสร้างความสามารถของประชากรในท้องถิ่นในเรื่องที่สำคัญ การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ได้พบ กับนักวิทยาศาสตร์อาวุโสที่ได้รับรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติ จะเป็นแรงกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เกิดความมุมานะ และแรงบันดาลใจ พวกเขาเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถ และร่วมมือแก้ไขปัญหาสำคัญของโลก นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เหล่านี้จึงเป็นเสมือนอนาคตของเราและของโลก" สมเด็จพระเทพฯ ตรัส

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นพร้อมกัน 3 สาขา คือ เคมี ฟิสิกส์ และการแพทย์ มีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ไทยที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงคัดเลือกด้วยพระองค์เอง ได้แก่ 1. นายสุธีรักษ์ ฤกษ์ดี นักศึกษาปริญญาโท-เอก ที่สหรัฐอเมริกา 2. น.ส.นิธิวดี ไืทยเจริญ นักศึกษาปริญญาโท สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. นายสิขริณญ์ อุปะละ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล 4. นายสุรเชต หลิมกำเนิด อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 5. นายฉัตรชัย เหมือนประสาท อาจารย์ภาควิชาสรีระวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 6. นายวรพจน์ นิลรัตนกุล แพทย์ประจำบ้านปี 2 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ


****************


ที่มา: หนังสิอพิมพ์มติชนรายวัน ประจำวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 11797
เผยแพร่บนเว็บไซต์โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือวัดปริมาณรังสีทางการแพทย์ ภายใต้การบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง”

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือวัดปริมาณรังสีทางการแพทย์ ภายใต้การบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง”

กลุ่มมาตรฐานการวัดรังสีและกัมมันตรังสี สำนักสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู (สส.) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือวัดปริมาณรังสีทางการแพทย์ ภายใต้การบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง” ระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมเอเชีย พัทยา จ.ชลบุรี

ด้วยภารกิจสนับสนุนงานกำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้นิวเคลียร์และรังสี รวมถึงในด้านการแพทย์ทั้งในสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และรังสีวินิจฉัย ในสถานปฏิบัติการด้านการแพทย์ ซึ่งมีเครื่องมือสำคัญคือเครื่องวัดปริมาณสารรังสี หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ว่า เครื่องวัดโดสคาลิเบรเตอร์ (Dose Calibrator) ใช้สำหรับวัดปริมาณรังสีจากสารเภสัชรังสีที่ต้องบริหารเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

ซึ่งจำเป็นต้องทราบปริมาณที่ถูกต้องก่อนการใช้งานในการวินิจฉัยและรักษาโรคร้ายต่างๆ และในขณะเดียวกันยังต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานสารเภสัชรังสีเหล่านั้น เพื่อเป็นการประกันว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดใดๆ ในการใช้สารเภสัชรังสี เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและรักษามาตรฐานการวัดทางรังสี โดยถ่ายทอดความรู้ด้านการรักษามาตรฐานการวัดและเทคโนโลยีการควบคุมคุณภาพ เครื่องวัดปริมาณสารรังสี และสร้างความเข้าใจในกลุ่มเครือข่ายบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั่วประเทศ ให้เห็นความสำคัญของการรักษามาตรฐาน และดำเนินการสอบเทียบเครื่องโดสคาลิเบรเตอร์ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างเครือข่ายบูรณาการ ประสานความร่วมมือระหว่างกันในปีต่อไปอย่างต่อเนื่อง



ที่มา: พงศ์พรรณ คุ้มทรัพย์ : สำนักสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู (สส.)
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
http://www.oaep.go.th/dt_news3.php?id=486

เผยแพร่บนเว็บไซต์โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดฝึกอบรม "ฟื้นฟูความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี รุ่นที่ 5"

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดฝึกอบรม "ฟื้นฟูความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี รุ่นที่ 5"

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยกลุ่มงานด้านวิชาการ และกลุ่มส่งเสริมและประสานงานวิชาการ สำนักบริหารจัดการด้านพลังงานปรมาณู ทำการจัดฝึกอบรมการฟื้นฟูความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี รุ่นที่ 5 เมื่อวันที่ 23-25 มิถุนายน พ.ศ.2553 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร 1 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จำนวนผู้อบรม 75 คน

นางประไพพิศ สุปรารภ รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(ปส.) เป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรมฯ ความว่า เนื่องจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทาง รังสี และนิวเคลียร์ อีกทั้งมีการแก้ไขกฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับผู้ขออนุญาตครอบครอง ใช้วัสดุกัมมันตรังสี หรือเครื่องกำเนิดรังสี ดังนั้นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีควรได้รับความรู้ด้านกฎหมาย รวมทั้งข้อมูลด้านเทคนิค เพื่อที่จะนำความรู้ และประโยชน์ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานทางรังสีอย่างถูกต้องต่อไป


ที่มา: อิทธิเดช ปานพรหมมาศ : กลุ่มงานด้านวิชาการ (กวช.)

http://www.oaep.go.th/dt_news3.php?id=485

เผยแพร่บนเว็บไซต์โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ระบบสารนิเทศนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (INIS : International Nuclear Information System)

ระบบสารนิเทศนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (INIS : International Nuclear Information System)

เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองระหว่างกลุ่มประเทศ สังคมนิยมกับกลุ่มประเทศทุนนิยมที่เป็นสมาชิกทบวงการพลังงานปรมาณู ระหว่างประเทศ (IAEA) ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเป็นไปด้วยความยากลำบากด้วยเหตุนี้ ทบวงการฯ จึงได้จัดตั้ง ศูนย์อินนิส (INIS: International Nuclear Information System) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีนิวเคลียร์แก่มวลสมาชิก โดยมีที่ทำการอยู่ที่เดียวกับทบวงการฯ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย อินนิสในแต่ละประเทศเป็นศูนย์ประสานงาน ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสารส่งไปยังศูนย์อินนิสที่กรุงเวียนนา ระยะแรกของการจัดตั้งเป็นการวางระบบปฏิบัติงาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 อินนิส ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ศูนย์ประสานงานแต่ละประเทศรวบรวม ส่งมาให้เผยแพร่ในรูปวารสารสาระสังเขป ชื่อ INIS Atomindex เป็นครั้งแรกและได้แจกจ่ายแก่ประเทศสมาชิก เพื่อไว้บริการนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและผู้สนใจ

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รัฐสมาชิกหนึ่งของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกอินนิสในฐานะศูนย์ประสานงานของประเทศไทย ทำหน้าที่รวบรวมบรรณานุกรม สาระสังเขป ผลงาน สิ่งพิมพ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยไปพิมพ์เผย แพร่ในวารสารสาระสังเขป INIS Atomindex และขอรับวารสารดังกล่าวเพื่อให้บริการแก่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย

เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ทบวงการฯ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้สมาชิกสามารถสืบค้น โดยผ่านคอมพิวเตอร์ออนไลน์และจัดทำฐานข้อมูลให้อยู่ในรูป CD-ROM แจกจ่ายสมาชิกแทนการจัดพิมพ์วารสาร INIS Atomindex

วารสาร INIS Atomindex หรือฐานข้อมูล INIS ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้รับข้อมูลจากประเทศสมาชิกจำนวน 108 ประเทศ และ 19 องค์การระหว่างประเทศ มีรายละเอียดเกี่ยวกับบรรณานุกรม พร้อมสาระสังเขปข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติการวิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรมพลังงานความ ปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ ชีววิทยาและหัวข้อ เนื้อหาวิชาเกี่ยวกับ

- Chemistry
- Earth Science
- Economics and Sociology
- Engineering
- External Radiation in Biology
- Fission Reactors
- General and High Energy Physics
- Health
- Instrumentation
- Life Science
- Materials
- Neutron and Nuclear Physics
- Nuclear Documentation
- Nuclear Law
- Nuclear Safety
- Radiation Protection and Environment
- Safeguards and Inspection
- Specific Fission Reactor Type and the Associated Plant
- Waste Management

สำหรับฐานข้อมูล INIS ของประเทศไทยสามารถคลิกเข้าไปได้ที่ : http://km.oaep.go.th/inis/search.html

เผยแพร่โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นิวเคลียร์ปริทัศน์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

นิวเคลียร์ปริทัศน์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2553 เผยแพร่โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การแถลงข่าว "จุดเปลี่ยนผ่าน 5 ทศวรรษ ปส." ณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ศ.เกียรติคุณ ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมแถลงข่าว เนื่องในโอกาสที่จะครบรอบ 50 ปี วันที่ 25 เมษายน 2554 ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) โดยชูประเด็น “จุดเปลี่ยนผ่าน 5 ทศวรรษ ปส.” ในเรื่องบทบาท หน้าที่กับก้าวต่อไปของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยมีผู้สนใจและสื่อมวลชนเข้ารับฟังการแถลงข่าวครั้งนี้ จำนวน 220 คน ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ถ.วิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553


ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ ปส. ดำเนินงานมาครบรอบ 49 ปี ย่างเข้า 50 ปี ถือได้ว่าเป็นการให้ความเชื่อมั่นแก่วงการปรมาณู ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศเทศได้นำเอาพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและการศึกษาวิจัยต่าง ๆ นั่นคือประเทศไทยของเรามีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านนี้ทัดเทียม กับอารยประเทศ เพราะ ปส. เป็นองค์กรสำคัญที่มีหน้าที่เสนอแนะนโบาย แนวทางและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และกำกับให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจและ มาตรฐานสากล
“ปัจจุบันทั่วโลกต่างเผชิญกับวิกฤติพลังงาน ซึ่ง พลังงานนิวเคลียร์ ถูกเสนอให้เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกในการแก้ปัญหาดังกล่าว และในต่างประเทศมีการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในลักษณะพลังงานทดแทนนานแล้ว อย่างเช่น การใช้เชื้อเพลิงในเรือดำน้ำ เรือสินค้า และโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปส. ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยเสนอให้ทำการศึกษาวิจัยพลังงานนิวเคลียร์ให้เป็นพลังงานทางเลือกและใช้ เพื่อประโยชน์ด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการแพทย์ อุตสาหกรรมและการเกษตร แต่ไม่ว่าพลังงานนิวเคลียร์จะมีประโยชน์มากเพียงใด หากประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยคงเกิดขึ้นได้ยากยิ่ง และนี่เองคือภารกิจที่ท้าทายให้ ปส.ก้าวต่อไป ก้าวของการสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยในการใช้พลังงานปรมาณูให้ เกิดแก่ประชาชน โดยให้ความรู้อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกิดขึ้นมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์”


ด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า หน้าที่สำคัญของ ปส. นอกจากเป็นองค์กรสำคัญที่มีหน้าที่เสนอแนะนโยบาย แนวทางและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูเพื่อการสันติ และกำกับให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจและ มาตรฐานสากลแล้ว หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยนอกจากมีการให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปแล้ว ยังมีการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ Edutainment ให้กับเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยี นิวเคลียร์ในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ค่ายเยาวชนนิวเคลียร์สัมพันธ์ที่จัดทั่วประเทศและดำเนินการมากว่า 10 ปีแล้ว และในปีนี้ ปส. จะจัดประกวด “ยุวทูตนิวเคลียร์ระดับชาติ” เพื่อให้เด็กเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกเป็น presenter หรือ ambassador ช่วยประชาสัมพันธ์การทำงานของ ปส. ไปสู่ประชาชน รวมทั้งเป็นตัวแทน ปส. เข้าร่วมกิจกรรมในระดับชาติ


นอกจากนี้ ปส. ยังขยายบทบาทการบริหารจัดการด้านพลังงานนิวเคลียร์ จากเดิมที่เป็นหน่วยงานกลางในการติดต่อประสานงานทั้งภายในประเทศและต่าง ประเทศด้านพลังงานนิวเคลียร์ แต่ในปลายปีนี้ ประเทศไทยจะก้าวไปสู่อีกบทบาทหนึ่งของการเป็นผู้นำอาเซียนด้านความปลอดภัย ของการใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์ ด้วยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับอาเซียนขึ้นครั้งแรกในประเทศ

ที่มา: สุทธิพัฒน์ ฟื้นมา : สำนักบริหารจัดการด้านพลังงานปรมาณู (สบ.) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
http://www.oaep.go.th/dt_news3.php?id=411

วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

แนะนำวารสาร

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

ห้องสมุดพลังงานป

ห้องสมุดพลังงานป

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

โอบามาเดินเครื่องนิวเคลียร์ อัดงบกว่าล้านล้านลดคาร์บอน

โอบามาเดินเครื่องนิวเคลียร์ อัดงบกว่าล้านล้านลดคาร์บอน

การตรวจสอบโดยการถ่ายภาพด้วยรังสี

การตรวจสอบโดยการถ่ายภาพด้วยรังสี โดย วิรัช ศรีเพ็ชรดี ที่มา ข่าว พปส. ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2530 หน้าุ 3 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.2%20no.5.pdf

การปรับปรุงพันธุ์ไหมไทย ด้วยรังสีแกมมา

การปรับปรุงพันธุ์ไหมไทย ด้วยรังสีแกมมา โดย บุญญา สุดาทิศ ที่มา ข่าว พปส. ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม 2530 หน้าุ 3 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.2%20no.4.pdf

การปราบแมลงโดยการทำหมันด้วยรังสี

การปราบแมลงโดยการทำหมันด้วยรังสี โดย มานนท์ สุตันทวงษ์ ที่มา ข่าว พปส. ปีที่ 1 ฉบับที่ ุ6 กรกฎาคม - สิงหาคม 2529 หน้าุ 11 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.1%20no.6.pdf

อุบัติภัยนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้า เชอโนบิล

อุบัติภัยนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้า เชอโนบิล โดย กฤษฎางค์ จิระสานต์ ที่มา ข่าว พปส. ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม - มิถุนายน 2529 หน้าุ 4 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.1%20no.5.pdf

เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย


เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย โดย สุนันทา ภัทรชาคร ที่มา ข่าว พปส. ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 มีนาคม - เมษายน 2529 หน้าุ 3 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.1%20no.4.pdf

รู้จัก เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในประเทศไทย

รู้จัก เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในประเทศไทย โดย นายอดิเทพ ที่มา ข่าว พปส. ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2529 หน้าุ 6 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.1%20no.3.pdf

การกำหนดค่าอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14

การกำหนดค่าอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 โดย มานิตย์ ซ้อนสุข ที่มา ข่าว พปส. ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2529 หน้า 1 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.1%20no.3.pdf

การกำจัดแมลงวันผลไม้ ในผักและผลไม้ ด้วยรังสีแกมมาเพื่อการส่งออก

การกำจัดแมลงวันผลไม้ ในผักและผลไม้ ด้วยรังสีแกมมาเพื่อการส่งออก โดย นายมานนท์ สุตันทวงษ์ ที่มา ข่าว พปส. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2529 หน้า 8 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.1%20no.2.pdf

การใช้รังสีแกมมาเพื่อรักษาคุณภาพของกุ้งแช่แข็ง

การใช้รังสีแกมมาเพื่อรักษาคุณภาพของกุ้งแช่แข็ง โดย นายโกวิทย์ นุชประมูล ที่มา ข่าวพปส.ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2528 หน้า 4 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.1%20no.2.pdf

การปรับปรุงพันธุ์พืช โดย..วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การปรับปรุงพันธุ์พืช โดย..วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดย วลัยลักษณ์ แพทย์วิบูลย์
ที่มา ข่าวพปส. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2531 หน้า 15 http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.3%20no.1.pdf

นิตยสารรับใหม่ หมอชาวบ้าน

หมอชาวบ้าน ปีที่ 31 ฉบับที่ 372 เมษายน 2553 http://203.185.68.139/file/Health%20vol.31%20no.372.pdf

ติดต่อขอยืม/อ่าน ได้ที่ห้องสมุดพลังงานปรมาณู โทร. 1711, 1813

นิตยสารรับใหม่ Quick PC

Quick PC ปีที่ 31 ฉบับที่ 250 มีนาคม 2553 http://203.185.68.139/file/Quick%20PC%20vol.13%20no.250.pdf

ติดต่อขอยืม/อ่าน ได้ที่ห้องสมุดพลังงานปรมาณู โทร. 1711, 1813

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

สิ่งพิมพ์ ปส.รังสี และกากกัมมันตรังสี


รังสี และกากกัมมันตรังสี http://203.185.68.139/file/ref-oaep-11.pdf

สิ่งพิมพ์ ปส. รังสีรอบตัวเรา


รังสีรอบตัวเรา http://203.185.68.139/file/ref-oaep-11.pdf

สิ่งพิมพ์ ปส. ผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


ผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ http://203.185.68.139/file/ref-oaep-9.pdf

สิ่งพิมพ์ ปส. คู่มือ ความปลอดภัยทางรังสี


คู่มือ ความปลอดภัยทางรังสี http://203.185.68.139/file/ref-oaep-5.pdf

การเสนอการใช้ระเบิดนิวเคลียร์


การเสนอการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ ประกอบการสร้างคลองกระ http://203.185.68.139/file/ref-oaep-2.pdf

สิ่งพิมพ์ ปส. ความปลอดภัย สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


ความปลอดภัย สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ http://203.185.68.139/file/ref-oaep-8.pdf

สิ่งพิมพ์ ปส. ปฏิบัติงานอย่างไร... กับรังสี


ปฏิบัติงานอย่างไร... กับรังสี http://203.185.68.139/file/ref-oaep-8.pdf

สิ่งพิมพ์ ปส. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ http://203.185.68.139/file/ref-oaep-13.pdf

สิ่งพิมพ์ ปส. พลังงานนิวเคลียร์กับการพัฒนาประเทศ


พลังงานนิวเคลียร์กับการพัฒนาประเทศ http://203.185.68.139/file/ref-oaep-10.pdf

สิ่งพิมพ์ ปส. เจาะลึกเรื่องของปรมาณู


เจาะลึกเรื่องของปรมาณู http://203.185.68.139/file/ref-oaep-7.pdf

รายงานประจำปี ปส.


รายงานประจำปี 2551 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ http://203.185.68.139/file/Annual%20Report%202551.pdf

รายงานประจำปี ปส.


รายงานประจำปี 2550 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ http://203.185.68.139/file/Annual%20Report%202550.pdf

รายงานประจำปี ปส.


รายงานประจำปี 2549 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ http://203.185.68.139/file/Annual%20Report%202549.pdf

รายงานประจำปี ปส.


รายงานประจำปี 2547-2548 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ http://203.185.68.139/file/Annual%20Report%202547-2548.pdf

รายงานประจำปี ปส.


รายงานประจำปี 2546 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ http://203.185.68.139/file/Annual%20Report%202546.pdf

รายงานประจำปี


รายงานประจำปี 2541-2542 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ http://203.185.68.139/file/Annual%20Report%202541-2542.pdf

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

วารสารรับใหม่


วารสารรับใหม่ Business+
ISSN: 0857-7838 ปีที่ 21 ฉบับที่ 253 มีนาคม 2553 http://203.185.68.139/file/Business+253.pdf

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

นิตยสารรับใหม่


ห้องสมุดพลังงานปรมาณู แนะนำนิตยสารรับใหม่ อ่านเพื่อบันเทิง ผ่อนคลาย ดิฉัน ฉบับที่ 794, 31 มีนาคม 2553 ติดต่อขอยืม หรืออ่าน ได้ที่
คุณจารุณีย์ หรือคุณสุดา โทร. 1711

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

นิวเคลียร์ปริทัศน์


สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดทำเอกสารเผยแพร่ "นิวเคลียร์ปริทัศน์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 4 ตุลาคม 2553"
เรื่องเด่นประจำฉบับ: อิริเดียม-192 กับการขนส่งอย่างปลอดภัย
อ่านรายละเอียดต่อได้ที่ http://203.185.68.139/file/oaep-%20newsletter%20vol.22%20no.4.pdf

สิ่งพิมพ์รับใหม่


Clinical Translation of Radiolabelled Monoclonal Antibodies and Peptides. (IAEA : Human Health Series No. 8)
http://www-pub.iaea.org/MTCD/publications/PubDetails.asp?pubId=8188

สิ่งพิมพ์รับใหม่


Classification of Radioactive Waste General. (IAEA : Safety Standards Series No. GSG-1)
http://www-pub.iaea.org/MTCD/publications/PubDetails.asp?pubId=8154

สิ่งพิมพ์รับใหม่


Deterministic Safety Analysis for Nuclear Power Plants. (IAEA : Safety Standards Series No. SSG-2)
http://www-pub.iaea.org/MTCD/publications/PubDetails.asp?pubId=8233

นิตยสารรับใหม่


เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 341 มีนาคม 2553 http://library.oaep.go.th/index-magazine.html

นิตยสารรับใหม่


ไมโครคอมพิวเตอร์ ปีที่ 28 ฉบับที่ 296 มีนาคม 2553 http://library.oaep.go.th/index-magazine.html

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553


เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอสิกส์

วารสารต่างประเทศรับใหม่


Nuclear Science and Technology

วารสารต่างประเทศรับใหม่


Journal of Nuclear Science and Technology:
Vol. 47 No. 1, January 2010

http://library.oaep.go.th/index-nuc-sci-tec.html

สิ่งพิมพ์ ปส.

สิ่งพิมพ์ ปส. http://library.oaep.go.th/index-3.html

ข่าว พปส. / นิวเคลียร์ปริทัศน์

ข่าว พปส. / นิวเคลียร์ปริทัศน์ http://library.oaep.go.th/index-oaep-newsletter.html

รายงานประจำปี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

รายงานประจำปี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) http://library.oaep.go.th/index-annual-oaep.html

แนะนำสิ่งพิมพ์รับใหม่ เดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2553

รายการวารสารภาษาต่างประเทศ
รายการวารสารภาษาไทย
รายการรายงานภาษาต่างประเทศ
รายการรายงานภาษาไทย
http://library.oaep.go.th/index28.html

การเสนอแนะให้ห้องสมุดจัดหาทรัพยากรห้องสมุด

1. ทำบันทึกถึง ผสบ. ผ่านหัวหน้างาน, หัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้ากลุ่มงาน ผ่าน ผอ.กอง/ผอ.ศูนย์/ผอ.สำนักฯ แจ้งความจำนง พร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสาร สิ่งพิมพ์ที่จะให้จัดซื้อ จัดหา เช่น ชื่อหนังสือ/ชื่อวารสาร, ชื่อผู้แต่ง, บรรณาธิการ, หมายเลข ISBN หรือ ISSN สำนักพิมพ์, ที่อยู่ของสำนักพิมพ์ (ได้เป็นแคตตาล็อคหรือสำเนาแคตตาล็อคยิ่งดี) http://library.oaep.go.th/index7.html

ขั้นตอนการขอยืมหนังสือ / เอกสาร ระหว่างห้องสมุด

ห้องสมุดสำนักงานปรมาณู เพื่อสันติ ให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด และถ่ายสำเนาระหว่างห้องสมุด ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ แก่ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และถ่ายสำเนาระหว่างห้องสมุด ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ดังนี้
http://library.oaep.go.th/index8.html

การขอยืม หนังสือ / เอกสารประจำกอง

การขอยืมประจำกอง คือ การยืม หนังสือ เอกสาร ที่มีเนื้อหาวิชา ตรงกับการทำงานของหน่วยงานภายใน กำหนดให้ยืมไว้ใช้งานที่กอง/สำนักฯ ได้ไม่เกิน 1 ปี แต่ห้องสมุดสงวนสิทธิ์ที่จะทวงคืนก่อนกำหนดหากมีผู้ต้องการใช้ การยืมประจำกองจะมีแบบฟอร์มยืมให้กรอก เมื่อกรอกข้อมูลแล้วให้เสนอผ่านหัวหน้าหน่วยงานที่ผู้ใช้สังกัด มาที่ห้องสมุด เพื่อเสนอความคิดเห็นในการให้ยืม แล้วห้องสมุดจะเสนอขอความเห็นชอบจากเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
หลังจากเลขาธิการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเห็นชอบการยืมแล้ว ห้องสมุดจะแจ้งให้ผู้ยืมทราบ เพื่อเซ็นยืมในบัตรยืมประจำหนังสือต่อไป

ติดต่อขอแบบฟอร์ม จากเจ้าหน้าที่ห้องสมุด หรือ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์ของห้องสมุดพลังงานปรมาณู http://library.oaep.go.th/index17.html

ระเบียบการยืม- คืน เอกสารสิ่งพิมพ์

ข้าราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติที่เป็นสมาชิกห้องสมุด สามารถ ยืมหนังสือได้ครั้งละ 5 เล่ม เป็นระยะเวลา 14 วัน วารสารยืมได้ครั้งละ 3 เล่ม เป็นระยะเวลา 3 วัน

บุคคลภายนอก ใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด หรือขอถ่ายสำเนา

บริการต่างๆ

1. บริการตอบคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับห้องสมุด เอกสาร สิ่งพิมพ์
2. บริการให้ยืม ช่วยค้นคว้า และอำนวยความสะดวกในการใช้หนังสือ
เอกสาร สิ่งพิมพ์
3. บริการยืมระหว่างห้องสมุด
4. บริการถ่ายสำเนาเอกสารที่มีในห้องสมุด และจากห้องสมุดอื่น
ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ
5. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศตามคำเสนอแนะของผู้ใช้
6. บริการข้อมูลฐานข้อมูลที่จัดทำเอง และฐานข้อมูลสำเร็จรูป
7. บริการข้อมูลเอกสารรับใหม่

แนะนำห้องสมุดพลังงานปรมาณู

อาคารชั้นล่าง

- เอกสารเผยแพร่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
- สิ่งพิมพ์รัฐบาลภายในประเทศ
- บริเวณบริการถ่ายสำเนา
- วารสารวิชาการต่างประเทศ
- จุดบริการคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคว้าข้อมูล

บริเวณห้องโถงหน้าบันได

- เอกสารจากทบวงการฯ:
- Proceeding Series, Safety Series
- Technical Reports Series
- ตู้แสดงหนังสือรับใหม่
- วิทยานิพนธ์

วิสัยทัศน์

เป็น กลไกสนับสนุนให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ทันสมัย พัฒนาไปสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ เผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนเข้าใจและทำงานกับนิวเคลียร์อย่างปลอดภัย

พันธกิจ ห้องสมุดพลังงานปรมาณู

ห้องสมุดพลังงานปรมาณู มีภาระหน้าที่ ดังนี้

๑. ให้บริการและเผยแพร่ความรู้สาขาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ในลักษณะมุ่งสู่ผู้ใช้
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
๒. จัดหาสารสนเทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในสาขา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์
๓. สนับสนุนการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน
ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ

ประวัติห้องสมุดพลังงานปรมาณู


เมื่อ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเห็นชอบในแผนการ/โครงการ "Atoms for Peace" ของประธานาธิบดีไอเซนฮาวด์ ผู้แทนรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ออกเยี่ยมประเทศต่างๆ เพื่อแจ้งแผนการปรมาณูเพื่อสันติ คณะกรรมการเกี่ยวกับพลังงานปรมาณูของไทย และ ผู้แทนรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้เจรจาปรึกษาหารือกัน ระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม พ.ศ. 2497 เมื่อคณะกรรมการฯ ทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2497 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้คณะกรรมการฯ ดำเนินกิจการด้านพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ต่อไป
ผู้ แทนสหรัฐอเมริกาเสนอแนะให้ไทยเริ่มเปิดการเจรจากับประธานคณะกรรมาธิการ พลังงานปรมาณูแห่งสหรัฐอเมริกา ผ่านกระทรวงการต่างประเทศไทย และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกายินดีจะให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ไทยด้าน พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และจะให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์นิวเคลียร์และไอโซโทป เพื่อใช้ในกิจการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ในการนี้ผู้แทนสหรัฐอเมริกาได้แจ้งด้วยวาจาให้ผู้แทนของไทยจัดเตรียมสถานที่ สำหรับการจัดตั้งห้องสมุดไว้ด้วย เพื่อสหรัฐอเมริกาจะจัดส่งหนังสือ เอกสารการวิจัยด้านพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เท่าที่มีอยู่และต่อไปมาให้ ศึกษา และเผยแพร่ นับว่า สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้เป็นUSAEC (United State Atomic Energy Commission) Depository Library แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่ ค.ศ. 1960
คณะ กรรมการเกี่ยวกับพลังงานปรมาณูของไทย ได้ใช้ส่วนหนึ่งของห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็น ห้องสมุดของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยมี น.ส. ทวีลักษณ์ บุญคง หัวหน้าห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นหัวหน้าดูแลห้องสมุดพลังงานปรมาณู จนกระทั่งเมื่อสร้างอาคารที่ทำการของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่ถนนศรีรับสุข (ถนนวิภาวดีรังสิต ปัจจุบัน) เสร็จเรียบร้อยจึงได้ย้ายห้องสมุดจากกรมวิทยาศาสตร์บริการมาที่ถนนศรีรับสุข

พลอากาศจัตวา ดร. สวัสดิ์ ศรีศุข เลขาธิการคนแรกของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ให้ชื่อห้องสมุดว่า "ห้องสมุดพลังงานปรมาณู" และให้อยู่ในความดูแลของสำนักงานเลขานุการกรม

ห้องสมุดพลังงานปรมาณู เมื่อย้ายมาอยู่ที่ถนนศรีรับสุข มี ร.อ.หญิง อัจฉรา ศรีสุโร เป็นบรรณารักษ์คนแรก นางวิภามาส การสุทธิ์ เป็นบรรณารักษ์คนที่สอง และ นางช่อทิพย์ มงคลมาลย์ เป็นบรรณารักษ์ในลำดับต่อมา http://library.oaep.go.th/index3.html

แนะนำนิตยสารรับใหม่


นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ห้องสมุดพลังงานปรมาณู มีนิตยสาร ที่นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นวิชาการ
(ตามคำแนะนำของท่าน ลปส. ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว) ให้บริการสำหรับสมาชิกห้องสมุดพลังงานปรมาณู
ได้ผ่อนคลาย อัพเดทข้อมูลกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อองค์ความรู้ทั่วไปของผู้อ่าน นิตยสารที่
ห้องสมุดบอกรับได้แก่ Quick PC, PC magazine Thailand, บ้านและสวน, ดิฉัน, ขวัญเรือน, แพรว,
อ.ส.ท., หมอชาวบ้าน

สมาชิกฯ สามารถติดต่อขอยืม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ห้องสมุดพลังงานปรมาณู
โทร. 1711, 1712 คุณจารุณีย์ หรือคุณสุดา

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนะนำบ้านหลังใหม่