ยินดีต้อนรับ

ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงร่วมสภาสูง โนเบล ตรัสพัฒนาวิทย์ช่วยผู้ด้อยโอกาส

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงร่วมสภาสูง โนเบล ตรัสพัฒนาวิทย์ช่วยผู้ด้อยโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ผู้สื่อข่าว "มติชน" รายงานจากหอประชุมอิลเชลฮันเล่ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับการทูลเกล้าถวายพระเกียรติให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสภากิตติมศักดิ์ (สภาสูง) ของมูลนิธิการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ในพิธีเปิดงานการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม ยังความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรชาวไืทยเป็นล้นพ้น

นายวูล์ฟกัง เชอร์เลอร์ ประธานมูลนิธิการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล กล่าวว่า การที่มูลนิธิถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพฯ ให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสภากิตติมศักดิ์ของมูลนิธิการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล เนื่องจากพระองค์ทรงทำคุณประโยชน์อย่างเด่นชัดในการประชุมที่ลินเดา และแก่มูลนิธิ ทรงเสียสละและทุ่มเทให้กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ สนับสนุนการศึกษาวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และทำให้เกิดการบูรณาการ

จากนั้น สมเด็จพระเทพฯ มีพระราชดำรัสขอบคุณแก่มูลนิธิว่า "พวก เรายังมีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ในการนำความรู้และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ต่อทุกคนอย่างกว้างขวาง ต้องร่วมมือกันหาวิธีการที่เหมาะสมในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ในสังคม เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ สังคม เชื้อชาติ หรือศาสนา ต้องร่วมมือกันหาวิธีในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อทั้วโลกในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นเร็วมาก ทำให้เิกิดปัญหา และความท้าทายในประเด็นสำคัญของโลกหลายประการ เช่น ภาวะโลกร้อน โรคติดเชื้อที่อุบัติขึ้นใหม่ และประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงของสังคมและมนุษยชาติ

เป้าหมายที่สำคัญ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้และทักษะในหลายเรื่องประกอบกัน งานของเราจึงถูกกล่าวถึงว่าเป็นบูรณาการแบบองค์รวมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการสร้างความสามารถของประชากรในท้องถิ่นในเรื่องที่สำคัญ การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ได้พบ กับนักวิทยาศาสตร์อาวุโสที่ได้รับรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติ จะเป็นแรงกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เกิดความมุมานะ และแรงบันดาลใจ พวกเขาเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถ และร่วมมือแก้ไขปัญหาสำคัญของโลก นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เหล่านี้จึงเป็นเสมือนอนาคตของเราและของโลก" สมเด็จพระเทพฯ ตรัส

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นพร้อมกัน 3 สาขา คือ เคมี ฟิสิกส์ และการแพทย์ มีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ไทยที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงคัดเลือกด้วยพระองค์เอง ได้แก่ 1. นายสุธีรักษ์ ฤกษ์ดี นักศึกษาปริญญาโท-เอก ที่สหรัฐอเมริกา 2. น.ส.นิธิวดี ไืทยเจริญ นักศึกษาปริญญาโท สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. นายสิขริณญ์ อุปะละ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล 4. นายสุรเชต หลิมกำเนิด อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 5. นายฉัตรชัย เหมือนประสาท อาจารย์ภาควิชาสรีระวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 6. นายวรพจน์ นิลรัตนกุล แพทย์ประจำบ้านปี 2 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ


****************


ที่มา: หนังสิอพิมพ์มติชนรายวัน ประจำวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 11797
เผยแพร่บนเว็บไซต์โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือวัดปริมาณรังสีทางการแพทย์ ภายใต้การบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง”

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือวัดปริมาณรังสีทางการแพทย์ ภายใต้การบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง”

กลุ่มมาตรฐานการวัดรังสีและกัมมันตรังสี สำนักสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู (สส.) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือวัดปริมาณรังสีทางการแพทย์ ภายใต้การบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง” ระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมเอเชีย พัทยา จ.ชลบุรี

ด้วยภารกิจสนับสนุนงานกำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้นิวเคลียร์และรังสี รวมถึงในด้านการแพทย์ทั้งในสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และรังสีวินิจฉัย ในสถานปฏิบัติการด้านการแพทย์ ซึ่งมีเครื่องมือสำคัญคือเครื่องวัดปริมาณสารรังสี หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ว่า เครื่องวัดโดสคาลิเบรเตอร์ (Dose Calibrator) ใช้สำหรับวัดปริมาณรังสีจากสารเภสัชรังสีที่ต้องบริหารเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

ซึ่งจำเป็นต้องทราบปริมาณที่ถูกต้องก่อนการใช้งานในการวินิจฉัยและรักษาโรคร้ายต่างๆ และในขณะเดียวกันยังต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานสารเภสัชรังสีเหล่านั้น เพื่อเป็นการประกันว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดใดๆ ในการใช้สารเภสัชรังสี เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและรักษามาตรฐานการวัดทางรังสี โดยถ่ายทอดความรู้ด้านการรักษามาตรฐานการวัดและเทคโนโลยีการควบคุมคุณภาพ เครื่องวัดปริมาณสารรังสี และสร้างความเข้าใจในกลุ่มเครือข่ายบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั่วประเทศ ให้เห็นความสำคัญของการรักษามาตรฐาน และดำเนินการสอบเทียบเครื่องโดสคาลิเบรเตอร์ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างเครือข่ายบูรณาการ ประสานความร่วมมือระหว่างกันในปีต่อไปอย่างต่อเนื่อง



ที่มา: พงศ์พรรณ คุ้มทรัพย์ : สำนักสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู (สส.)
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
http://www.oaep.go.th/dt_news3.php?id=486

เผยแพร่บนเว็บไซต์โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดฝึกอบรม "ฟื้นฟูความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี รุ่นที่ 5"

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จัดฝึกอบรม "ฟื้นฟูความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี รุ่นที่ 5"

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยกลุ่มงานด้านวิชาการ และกลุ่มส่งเสริมและประสานงานวิชาการ สำนักบริหารจัดการด้านพลังงานปรมาณู ทำการจัดฝึกอบรมการฟื้นฟูความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี รุ่นที่ 5 เมื่อวันที่ 23-25 มิถุนายน พ.ศ.2553 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร 1 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จำนวนผู้อบรม 75 คน

นางประไพพิศ สุปรารภ รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(ปส.) เป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรมฯ ความว่า เนื่องจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทาง รังสี และนิวเคลียร์ อีกทั้งมีการแก้ไขกฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับผู้ขออนุญาตครอบครอง ใช้วัสดุกัมมันตรังสี หรือเครื่องกำเนิดรังสี ดังนั้นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีควรได้รับความรู้ด้านกฎหมาย รวมทั้งข้อมูลด้านเทคนิค เพื่อที่จะนำความรู้ และประโยชน์ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานทางรังสีอย่างถูกต้องต่อไป


ที่มา: อิทธิเดช ปานพรหมมาศ : กลุ่มงานด้านวิชาการ (กวช.)

http://www.oaep.go.th/dt_news3.php?id=485

เผยแพร่บนเว็บไซต์โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ระบบสารนิเทศนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (INIS : International Nuclear Information System)

ระบบสารนิเทศนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (INIS : International Nuclear Information System)

เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองระหว่างกลุ่มประเทศ สังคมนิยมกับกลุ่มประเทศทุนนิยมที่เป็นสมาชิกทบวงการพลังงานปรมาณู ระหว่างประเทศ (IAEA) ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเป็นไปด้วยความยากลำบากด้วยเหตุนี้ ทบวงการฯ จึงได้จัดตั้ง ศูนย์อินนิส (INIS: International Nuclear Information System) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีนิวเคลียร์แก่มวลสมาชิก โดยมีที่ทำการอยู่ที่เดียวกับทบวงการฯ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย อินนิสในแต่ละประเทศเป็นศูนย์ประสานงาน ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสารส่งไปยังศูนย์อินนิสที่กรุงเวียนนา ระยะแรกของการจัดตั้งเป็นการวางระบบปฏิบัติงาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 อินนิส ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ศูนย์ประสานงานแต่ละประเทศรวบรวม ส่งมาให้เผยแพร่ในรูปวารสารสาระสังเขป ชื่อ INIS Atomindex เป็นครั้งแรกและได้แจกจ่ายแก่ประเทศสมาชิก เพื่อไว้บริการนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและผู้สนใจ

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รัฐสมาชิกหนึ่งของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกอินนิสในฐานะศูนย์ประสานงานของประเทศไทย ทำหน้าที่รวบรวมบรรณานุกรม สาระสังเขป ผลงาน สิ่งพิมพ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยไปพิมพ์เผย แพร่ในวารสารสาระสังเขป INIS Atomindex และขอรับวารสารดังกล่าวเพื่อให้บริการแก่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย

เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ทบวงการฯ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้สมาชิกสามารถสืบค้น โดยผ่านคอมพิวเตอร์ออนไลน์และจัดทำฐานข้อมูลให้อยู่ในรูป CD-ROM แจกจ่ายสมาชิกแทนการจัดพิมพ์วารสาร INIS Atomindex

วารสาร INIS Atomindex หรือฐานข้อมูล INIS ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้รับข้อมูลจากประเทศสมาชิกจำนวน 108 ประเทศ และ 19 องค์การระหว่างประเทศ มีรายละเอียดเกี่ยวกับบรรณานุกรม พร้อมสาระสังเขปข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติการวิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรมพลังงานความ ปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ ชีววิทยาและหัวข้อ เนื้อหาวิชาเกี่ยวกับ

- Chemistry
- Earth Science
- Economics and Sociology
- Engineering
- External Radiation in Biology
- Fission Reactors
- General and High Energy Physics
- Health
- Instrumentation
- Life Science
- Materials
- Neutron and Nuclear Physics
- Nuclear Documentation
- Nuclear Law
- Nuclear Safety
- Radiation Protection and Environment
- Safeguards and Inspection
- Specific Fission Reactor Type and the Associated Plant
- Waste Management

สำหรับฐานข้อมูล INIS ของประเทศไทยสามารถคลิกเข้าไปได้ที่ : http://km.oaep.go.th/inis/search.html

เผยแพร่โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นิวเคลียร์ปริทัศน์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

นิวเคลียร์ปริทัศน์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2553 เผยแพร่โดย ห้องสมุดพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การแถลงข่าว "จุดเปลี่ยนผ่าน 5 ทศวรรษ ปส." ณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ศ.เกียรติคุณ ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมแถลงข่าว เนื่องในโอกาสที่จะครบรอบ 50 ปี วันที่ 25 เมษายน 2554 ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) โดยชูประเด็น “จุดเปลี่ยนผ่าน 5 ทศวรรษ ปส.” ในเรื่องบทบาท หน้าที่กับก้าวต่อไปของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยมีผู้สนใจและสื่อมวลชนเข้ารับฟังการแถลงข่าวครั้งนี้ จำนวน 220 คน ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ถ.วิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553


ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ ปส. ดำเนินงานมาครบรอบ 49 ปี ย่างเข้า 50 ปี ถือได้ว่าเป็นการให้ความเชื่อมั่นแก่วงการปรมาณู ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศเทศได้นำเอาพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและการศึกษาวิจัยต่าง ๆ นั่นคือประเทศไทยของเรามีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านนี้ทัดเทียม กับอารยประเทศ เพราะ ปส. เป็นองค์กรสำคัญที่มีหน้าที่เสนอแนะนโบาย แนวทางและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และกำกับให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจและ มาตรฐานสากล
“ปัจจุบันทั่วโลกต่างเผชิญกับวิกฤติพลังงาน ซึ่ง พลังงานนิวเคลียร์ ถูกเสนอให้เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกในการแก้ปัญหาดังกล่าว และในต่างประเทศมีการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในลักษณะพลังงานทดแทนนานแล้ว อย่างเช่น การใช้เชื้อเพลิงในเรือดำน้ำ เรือสินค้า และโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปส. ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยเสนอให้ทำการศึกษาวิจัยพลังงานนิวเคลียร์ให้เป็นพลังงานทางเลือกและใช้ เพื่อประโยชน์ด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการแพทย์ อุตสาหกรรมและการเกษตร แต่ไม่ว่าพลังงานนิวเคลียร์จะมีประโยชน์มากเพียงใด หากประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยคงเกิดขึ้นได้ยากยิ่ง และนี่เองคือภารกิจที่ท้าทายให้ ปส.ก้าวต่อไป ก้าวของการสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยในการใช้พลังงานปรมาณูให้ เกิดแก่ประชาชน โดยให้ความรู้อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกิดขึ้นมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์”


ด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า หน้าที่สำคัญของ ปส. นอกจากเป็นองค์กรสำคัญที่มีหน้าที่เสนอแนะนโยบาย แนวทางและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูเพื่อการสันติ และกำกับให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจและ มาตรฐานสากลแล้ว หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยนอกจากมีการให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปแล้ว ยังมีการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ Edutainment ให้กับเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยี นิวเคลียร์ในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ค่ายเยาวชนนิวเคลียร์สัมพันธ์ที่จัดทั่วประเทศและดำเนินการมากว่า 10 ปีแล้ว และในปีนี้ ปส. จะจัดประกวด “ยุวทูตนิวเคลียร์ระดับชาติ” เพื่อให้เด็กเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกเป็น presenter หรือ ambassador ช่วยประชาสัมพันธ์การทำงานของ ปส. ไปสู่ประชาชน รวมทั้งเป็นตัวแทน ปส. เข้าร่วมกิจกรรมในระดับชาติ


นอกจากนี้ ปส. ยังขยายบทบาทการบริหารจัดการด้านพลังงานนิวเคลียร์ จากเดิมที่เป็นหน่วยงานกลางในการติดต่อประสานงานทั้งภายในประเทศและต่าง ประเทศด้านพลังงานนิวเคลียร์ แต่ในปลายปีนี้ ประเทศไทยจะก้าวไปสู่อีกบทบาทหนึ่งของการเป็นผู้นำอาเซียนด้านความปลอดภัย ของการใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์ ด้วยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับอาเซียนขึ้นครั้งแรกในประเทศ

ที่มา: สุทธิพัฒน์ ฟื้นมา : สำนักบริหารจัดการด้านพลังงานปรมาณู (สบ.) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
http://www.oaep.go.th/dt_news3.php?id=411